วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ภาษีป้าย

อัตราการชำระภาษีป้าย
พระราชบัญญัติภาษีป้าย "ป้าย" หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยตัวอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีโดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มคิดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตังแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปีและหใคิดภาษีเป็นรายงวด งวดละ 3 เดือน ของปีโดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปีทั้งนั้นตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง ป้ายที่ติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องมีชื่อและที่อยู่ของเจ้าของป้ายเป็นตัวอักษรไทยที่ชัดเจนที่มุมขวาด้านล้างของป้ายและให้ข้อความดังกล่าวได้รับยกเว้นภาษีป้ายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้าย ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย(ภ.ป.1) ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงมหาดไทยกำหนดตั้งแต่เดือน มกราคม - มีนาคม ของทุกปี ในกรณีของเจ้าของป้ายอยู่นอกประเทศไทยให้ตัวแทนหรือผู้แทนในประเทศไทยมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายแทนเจ้าของป้าย ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายใน 15 วัน ตั้งแต่วันที่ติดตั้ง หรือแสดงป้าย หรือนับแต่วันเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อความ ภาพ หรือ เครื่องหมาย แล้วแต่กรณี ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายชำระภาษีป้ายต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สถานที่ที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายไว้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน (ภ.ป.3) หรือให้ถือวันที่ชำระต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นวันชำระภาษีป้าย ให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายแสดงหลักฐานการเสียภาษีป้ายไว้ ณ ที่เปิดเผยในสถานที่ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการ ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้องทำให้จำนวนเงินที่จะต้องเสียภาษีป้ายน้อยลง ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 10 ของภาษีป้ายที่ประเมินเพิ่มเติมเว้นแต่กรณีที่เจ้าของป้ายได้มาขอแก้ไขแบบแสดงรายการภาษีป้ายให้ถูกำต้องก่อนที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมิน ไม่ชำระภาษีป้ายภายในเวลาที่กำหนด 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 2 ต่อเดือนของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีป้ายเศษของเดือนให้นับเป็น 1 เดือน ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ที่ได้รับแจ้งประเมินภาษีป้ายแล้วเห็นว่าการประเมินนั้นไม่ถูกต้อง มีสิทธิ์อุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น หรือผู้ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นมอบหมายได้ ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้ว หรือโดยจงใจแจ้งความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลักเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อัตราภาษีป้าย ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ออกตามความพระราชบัญญัติภาษีป้าย ให้กำหนดอัตราภาษีป้ายดังต่อไปนี้


ประเภทป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาไว้ที่วัตถุ ใดๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น
ระยะเวลาการยื่นแบบและชำระภาษี
ให้เจ้าของป้ายยื่นแบบแจ้งรายการภาษีป้าย(ภ.ป.1) เพื่อชำระภาษีที่ ฝ่ายรายได้ สำนักงานเขต ซึ่งป้ายนั้นติดตั้งอยู่ ภายใน ู่เดือนมีนาคมของทุกปี ป้ายที่ติดตั้งใหม่หรือมีการเปลี่ยนแปลงของป้ายหลังจากเดือนมีนาคม ให้ยื่นแบบภายใน 15 วัน



หลักฐานประกอบการยื่นแบบ
1. บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน
2. ทะเบียนการค้าหรือทะเบียนพาณิชย์
3. ใบอนุญาตติดตั้งป้าย หรือใบเสร็จรับเงินจากร้านทำป้าย (ถ้ามี)
4. หนังสือรับรองนิติบุคคล (กรณีนิติบุคคล)
5. ใบมอบอำนาจ กรณีให้ผู้อื่นทำการแทน
6. อื่นๆ สอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายรายได้หมายเหตุ หลักฐานต่างๆ ข้างต้น กรุณาถ่ายสำเนา 1 ชุด และลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
อัตราภาษีป้าย
1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน ให้คิดอัตรา 3 บาท ต่อ ห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพ และหรือเครื่องหมายอื่น ให้คิดอัตรา 20 บาท ต่อ ห้าร้อย ตารางเซนติเมตร
3. ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ ห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3.1 ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆหรือไม่
3.2 ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้ หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขพื้นที่ป้าย ข้อความ หรือภาพบางส่วน ในป้ายที่ได้เสียภาษีแล้ว และทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
5. ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษี ป้ายละ 200 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น