วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ภาษีสรรพสามิต

ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีการขายเฉพาะที่เรียกเก็บจากสินค้าและบริการบางประเภท ซึ่งมีเหตุผลสมควรที่จะต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ เช่น สินค้าที่บริโภคแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและศีลธรรมอันดี สินค้าและบริการที่มีลักษณะเป็นการฟุ่มเฟือย หรือสินค้าที่ได้รับผลประโยชน์เป็นพิเศษจากรัฐ หรือสินค้าที่ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐบาลในการที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความ สะดวกต่าง ๆ เพื่อให้บริการผู้บริโภค หรือเป็นสินค้าที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม
กรมสรรพสามิต มีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการเฉพาะอย่างจากผู้ผลิตสินค้าหลายประเภท เรียกว่า ภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ให้รัฐบาลนำไปบริหารประเทศ และทะนุบำรุงท้องถิ่นต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย

พ.ร.บ. สุรา พ.ศ. 2493
พ.ร.บ. ยาสูบ พ.ศ. 2509
พ.ร.บ. ไพ่ พุทธศักราช 2486
พ.ร.บ. ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
พ.ร.บ. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
จัดเก็บภาษีท้องถิ่นเพิ่มจากภาษีสรรพสามิต โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย
พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540


กรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการดังต่อไปนี้
1. น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
2. เครื่องดื่ม
3. เครื่องไฟฟ้า (เฉพาะเครื่องปรับอากาศและโคมระย้าที่ทำจากแก้วเลดคริสตัลและแก้วคริสตัลอี่น ๆ )
4. แก้วเลดคริสตัล และแก้วคริสตัลอื่น ๆ
5. รถยนต์ (รถยนต์นั่ง รถยนต์กระบะ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)
6. เรือยอชต์และยานพาหนะทางน้ำที่ใช้เพื่อความสำราญ
7. น้ำหอม หัวน้ำหอมและน้ำมันหอม
8. พรมและสิ่งทอปูพื้นอื่น (เฉพาะที่ทำด้วยขนสัตว์)
9. สถานบริการ (สนามแข่งม้า สนามกอล์ฟ)
10. หินอ่อนและหินแกรนิต (ปัจจุบันยกเว้นภาษี)
11. รถจักรยานยนต์
12. แบตเตอรี่
13. สุรา
14. ยาสูบ
15. ไพ่

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีสรรพสามิต คือ
ตาม พ.ร.บ.ภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 และ พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 สินค้าและสถานบริการประเภท น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน เครื่องดื่ม เครื่องปรับอากาศ โคมระย้า แก้วและเครื่องแก้ว รถยนต์ น้ำหอม รถจักรยานยนต์ พรม แบตเตอรี่ เรือ สนามแข่งม้า และสนามกอล์ฟ ได้บัญญัติรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบอุตสาหกรรม
2. ผู้ประกอบกิจการสถานบริการ
3. ผู้นำเข้าซึ่งสินค้า
4. ผู้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด (เช่น ผู้ดัดแปลงรถยนต์ ผู้กระทำผิดฐานมีไว้ในครอบครอง ขาย และมีไว้เพื่อขาย ฯ ตามมาตรา 161, 162 แห่งพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527


ภาระที่จะต้องเสียภาษีสรรพสามิตเกิดขึ้นเมื่อ
1. ในกรณีสินค้าที่ผลิตขึ้นในราชอาณาจักร
- เมื่อนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม หรือนำสินค้าไปใช้ในโรงอุตสาหกรรม เว้นแต่เป็นการนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมไปเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน
- เมื่อ นำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน เว้นแต่เป็นการนำสินค้ากลับคืนไปเก็บไว้ในโรงอุตสาหกรรมหรือคลังสินค้า ทัณฑ์บนอีกแห่งหนึ่ง
- เมื่อความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลัง สินค้า ทัณฑ์บน
2. สถานบริการ
- เมื่อได้ชำระค่าบริการ
- เมื่อความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเกิดขึ้นก่อนได้รับชำระค่าบริการ
3. ในกรณีสินค้านำเข้า
- เกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร สำหรับของที่นำเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
- ในกรณีสินค้าที่เก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือว่าความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีเกิดขึ้นในเวลาที่นำสินค้า ออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน
4. กรณีดัดแปลงรถยนต์
- เมื่อการดัดแปลงสิ้นสุดลง

หน้าที่ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527
1. จดทะเบียนสรรพสามิต (ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/สถานบริการ หากไม่จดทะเบียนสรรพสามิตมีความผิดปรับไม่เกิน 5,000 บาท) กรณีที่ ไม่ต้องจดทะเบียนสรรพสามิต ได้แก่
- ผู้นำเข้า
- ผู้ดัดแปลงที่มิใช่ผู้ดัดแปลงประกอบกิจการเป็นธุรกิจ
2. แสดงใบทะเบียนไว้ในที่เปิดเผย
3. ในกรณีใบทะเบียนสรรพสามิตชำรุดหรือสูญหายต้องขอรับใบแทนใบทะเบียนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบ
4. กรณีย้ายโรงอุตสาหกรรมให้แจ้งย้าย ณ สถานที่จดทะเบียนสรรพสามิต ก่อนย้ายไม่น้อยกว่า 15 วัน
5. กรณีเลิกหรือโอนกิจการให้แจ้ง ณ สถานที่จดทะเบียนก่อนเลิกหรือโอนกิจการ 15 วัน
6. กรณีผู้ประกอบอุตสาหกรรมตาย ให้ทายาทยื่นขอจดทะเบียนภายใน 30 วัน
7. ทำบัญชีและงบเดือน แล้วส่งงบเดือนต่อเจ้าพนักงานสรรพสามิตภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
8. แจ้งวัน เวลา ทำการปกติหรือวันหยุด ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงกำหนดวัน เวลา ให้แจ้งทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 3 วัน
9. แจ้งราคาขายสินค้า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงราคาให้แจ้งก่อนวันที่จะเปลี่ยนราคาไม่น้อยกว่า 7 วัน
10. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระค่าภาษีสรรพสามิต (ผู้ประกอบอุตสาหกรรม/สถานบริการ หลีกเลี่ยงไม่เสียภาษีมีความผิดจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท กรณีนำสินค้าเข้าโดยไม่เสียภาษีมีความผิดจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5-20 เท่า ของค่าภาษีที่จะต้องเสีย)

สถานที่ยื่นแบบรายการภาษีและชำระภาษีสรรพสามิต
1. ในกรณีที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ กรมสรรพสามิต
2. ในกรณีที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด หรือสำนักงานสรรพสามิตอำเภอในพื้นที่ที่โรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการนั้นตั้งอยู่
3. ในกรณีที่มีโรงอุตสาหกรรม หรือสถานบริการหลายแห่ง อาจยื่นคำร้องต่ออธิบดี ขอยื่นรวม ณ กรมสรรพสามิต หรือสำนักงานสรรพสามิตแห่งใดแห่งหนึ่ง เมื่ออธิบดีเห็นสมควรจะอนุญาตก็ได้
4. ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ให้ยื่น ณ กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากร หรือที่ซึ่งกรมศุลกากรกำหนดให้มีการผ่านพิธีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า

กรณีส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม.100)
1. กรณีส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม.100)
2. กรณีเสียหายหรือเสื่อมคุณภาพ (ม.104) เช่น เครื่องดื่ม
3. ของที่ได้รับยกเว้นอากร ตามภาค 4 กฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร (ม.99)
4. กรณีบริจาค (ม.102) เป็นการสาธารณกุศล ผ่านส่วนราชการ, องค์การสาธารณกุศล (ยกเว้นน้ำมันฯ)
5. กรณีจำหน่ายแก่ผู้ได้รับเอกสิทธิ์ฯ (ม.102)
6. น้ำมันฯ เติมอากาศยานหรือเรือขนาดเกินกว่า 500 ตันกรอสส์ไปต่างประเทศ (ม.102)
7. กรณีใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต/ใช้ในอุตสาหกรรม (ม.103) เช่น โซลเว้นท์
7.1. สินค้านำเข้าที่ส่งกลับออกไป (ม.105)
7.2. สินค้าส่งออก กรณีผลิตด้วยสินค้านำเข้าที่เสียภาษีแล้ว (ม.106) เช่น แก้วเลดคริสตัล
7.3. กรณีเสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียหรือเสียเกินกว่าที่ควรต้องเสีย (ม.107)


การขยายเวลาการชำระภาษี
โดย ปกติสินค้าจะต้องชำระภาษีสรรพสามิตก่อนนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรมหรือคลัง สินค้าทัณฑ์บน แต่ก็สามารถขยายเวลาชำระภาษีได้ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่นำสินค้าออกโรงอุตสาหกรรม หรือคลังสินค้าทัณฑ์บนโดยมีหลักประกันได้ ซึ่งประกาศกระทรวงการคลังได้กำหนดวงเงินประกันค่าภาษีให้คิดเฉลี่ยจากยอด ค่าภาษีในระยะ 6 เดือนที่ล่วงมาแล้ว (กรณีไม่เคยนำสินค้าออกจากโรงอุตสาหกรรม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดวงเงินประกันค่าภาษีได้ตามความเหมาะสม เมื่อครบ 6 เดือน จึงคำนวณค่าเฉลี่ยใหม่) ซึ่งแต่ละสินค้าจะมีวงเงินค่าประกันภาษี ดังนี้
1. เครื่องขายเครื่องดื่ม ไม่เกิน 300,000 บาท
2. เครื่องปรับอากาศ โคมระย้า ไม่เกิน 100,000 บาท (ต่อสินค้า)
3. แก้วและเครื่องแก้ว น้ำหอม พรม แบตเตอรี่ ไม่เกิน 10,000 บาท (ต่อ 1 สินค้า)
4. เรือ รถจักรยานยนต์ ไม่เกิน 200,000 บาท (ต่อ 1 สินค้า)
5. รถยนต์ ไม่เกิน 1,000,000 บาท
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมต้องยื่นคำขอตามแบบ ภษ. 01-05 ต่ออธิบดีหรือสรรพสามิตจังหวัด และวางหลักประกันเป็นเงินสด พันธบัตรรัฐบาล หนังสือค้ำประกันของธนาคาร หรือโฉนดที่ดินล่วงหน้า 1 เดือน โดยมีระยะเวลาประกันค่าภาษี 1 ปี นับแต่วันอนุมัติ


เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่จะต้องเสียเบี้ยปรับมี 2 กรณี คือ
1. กรณีมิได้ยื่นแบบรายการภาษีภายในกำหนดเวลา ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนสรรพสามิตไว้แล้วหรือไม่ ให้เสียเบี้ยปรับอีก 2 เท่าของเงินภาษี
2. กรณีที่ได้ยื่นแบบรายการภาษีไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องเสียขาดไป ให้เสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่าของเงินภาษีที่เสียขาดไปนั้น
ทั้งยังต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) อีกด้วย

ที่มา : http://www3.excise.go.th/content/linklocalpak3/taxx.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น