วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ความหมายของภาษีอากร

ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล แต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ และการคลังของรัฐบาล ประเภทภาษีอากร แบ่งเป็นภาษีอากรทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายที่ทางรัฐบาลใช้ในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากร

ลักษณะของภาษีอากรที่ดี รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. มีความเป็นธรรม
2. มีความแน่นอน และชัดเจน
3. มีความสะดวก
4. มีประสิทธิภาพ
5. มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
6. อำนวยรายได้
7. มีความยืดหยุ่น

โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้ออันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 6 หัวข้อด้วยกัน คือ
1. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
2. ฐานภาษีอากร
3. อัตราภาษีอากร
4. การประเมินการจัดเก็บภาษีอากร
5. การอุทธรณ์ภาษีอากร
6. เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ

5 ความคิดเห็น:

  1. อยากได้เนื้อหาเยอะๆค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ16 สิงหาคม 2555 เวลา 08:31

    ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  3. อยากได้เนื้อหาเยอะๆๆมากๆๆค่ะ แต้งกิ้วค่ะ

    ตอบลบ
  4. อยากได้ชื่อผู้เขียนค่ะ จะนำมาอ้างอิงค่ะ

    ตอบลบ
  5. ไม่ระบุชื่อ22 ธันวาคม 2558 เวลา 17:56

    เป็นเนื้อหาที่ชัดเจนครับ ผมได้ความรู้แยะเลยและก็ขนาดนี้อาจารย์ก็กำลังสอนเกี่ยกับเรื่องนี้อยู่ด้วยขอบคุณมากเลยครับ

    ตอบลบ