วันศุกร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ภ.ง.ด.91)

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษ ตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยปกติจัดเก็บเป็นรายปี รายได้ที่เกิดขึ้นในปีใดๆ ผู้มีรายได้มีหน้าที่ต้องนำไปแสดงรายการตนเองตามแบบแสดงรายการภาษีที่กำหนด ภายในเดือนมกราคมถึงมีนาคมของปีถัดไป สำหรับผู้มีเงินได้บางกรณีกฎหมายยังกำหนดให้ยื่นแบบฯ เสียภาษีตอนครึ่งปี สำหรับรายได้ ที่เกิดขึ้นจริงในช่วงครึ่งปีแรก เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีที่ต้องชำระและเงินได้บางกรณี กฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายทำหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินได้ที่จ่ายบางส่วน เพื่อให้มีการทยอยชำระภาษีขณะที่มีเงินได้เกิดขึ้นอีกด้วย



ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปีที่ผ่านมาโดยมีสถานะ อย่างหนึ่งอย่างใด ดังนี้

1) บุคคลธรรมดา

2) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล

3) ผู้ถึงแก่ความตายระหว่างปีภาษี

4) กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง



1. ขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิดขึ้น ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร อาจยื่นคำร้อง ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานครทั้ง 16 แห่ง หรือ สำนักสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งสำหรับในต่างจังหวัดยื่นคำขอได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่(จังหวัด)และสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา(อำเภอ)ทุกแห่งแล้วแต่กรณี

2. ยื่นแบบแสดงรายการปกติปีละ 1 ครั้ง เงินได้ของปีใดก็ยื่นแบบฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป เว้นแต่เงินได้บางลักษณะ เช่น การให้เช่าทรัพย์สิน เงินได้จากวิชาชีพอิสระ เงินได้จากการรับเหมา เงินได้จากธุรกิจการพาณิชย์ เป็นต้น จะต้องยื่นแบบฯ ตอนกลางปี สำหรับเงินได้ที่เกิดขึ้นใน 6 เดือนแรก ภายในเดือนกันยายนของปีนั้นก่อนการยื่นภาษีประจำปีตามปกติ



ตามกฎหมาย เงินได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า "เงินได้พึงประเมิน" หมายถึง เงินได้ของบุคคลใดๆ หรือหน่วยภาษีใดข้างต้นที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม ของปีใดๆ หรือเงินได้ ที่เกิดขึ้นในปีภาษี ได้แก่
1. เงิน
2. ทรัพย์สินซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ที่ได้รับจริง
3. ประโยชน์ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน
4. เงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้
5. เครดิตภาษีตามที่กฎหมายกำหนด




การหักลดหย่อน หมาย ถึง รายการต่างๆ ที่กฎหมายได้กำหนดให้หักได้เพิ่มขึ้นหลังจากได้หักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีก่อนนำเงินได้ที่เหลือซึ่ง เรียกว่าเงินได้สุทธิไปคำนวณภาษีตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา รายการหักลดหย่อนกรณีต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้ 1. การหักลดหย่อนในกรณีทั่วไป

1.1 ผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไทยถึง 180 วัน หรือไม่ก็ตาม)

1.2 สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 30,000 บาท (1) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่มีสิทธิหักลดหย่อน จะต้องเป็นสามีหรือภริยาชอบด้วยกฎหมาย การสมรส ไม่ครบปีภาษีก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ เช่น จดทะเบียนสมรสระหว่างปีภาษี หรือตายในระหว่างปีภาษี ก็มีสิทธิหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท (2) สามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ที่จะนำมาหักลดหย่อนจะต้องไม่มีเงินได้พึง ประเมินหรือมีแต่ไม่ได้แยกคำนวณภาษี ตัวอย่าง สามีภริยาแต่งงานครบปีภาษีและต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ประเภทที่ 1 กรณีดังกล่าว ภริยาสามารถแยกคำนวณภาษีต่างหากจากสามีได้โดยชอบ ทั้งสามีภริยาจึงไม่มีสิทธินำคู่สมรสมาหักลดหย่อนได้ แต่หากภริยามีเงินได้ประเภทอื่น (2-8) ให้สามีนำเงินได้ของภริยามารวมคำนวณและมีสิทธินำคู่สมรสมาหัก ลดหย่อนได้

1.3 การหักลดหย่อนบุตร ให้หักสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มี เงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ด้วย
โดยมีเงื่อนไขว่าบุตรที่เกิด ก่อนหรือ ในพ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรม ก่อน พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท บุตรที่เกิด หลัง พ.ศ.2522 หรือที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมในหรือหลัง พ.ศ. 2522 คนละ 15,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน การ นับจำนวนบุตรให้นับเฉพาะ บุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลำดับอายุสูงสุดของบุตร โดยให้นับรวมทั้งบุตร ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย การหักลดหย่อนสำหรับบุตร ให้หักได้เฉพาะบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ ในมหาวิทยาลัยหรือชั้นอุดมศึกษาเฉพาะภายในประเทศให้ลดหย่อนเพื่อการศึกษาได้อีกคนละ 2,000 บาท หรือเป็น ผู้เยาว์ หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถอันอยู่ในความ อุปการะเลี้ยงดู แต่มิให้ หักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าวที่มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ตั้งแต่ 15,000 บาทขึ้นไป โดยเงินได้ ดังกล่าวต้องไม่ใช่เงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามมาตรา 42 ให้ไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ การหักลดหย่อนสำหรับบุตรดังกล่าว ให้หักได้ ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีจะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ และในกรณีบุตรบุญธรรมนั้นให้หักลดหย่อนในฐานะบุตรบุญธรรมได้ในฐานะเดียว

1.4 เบี้ยประกันภัย ที่ผู้มีเงินได้จ่ายไปในปีภาษี สำหรับการประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง โดยส่วนแรกหักได้ 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท หักได้ไม่เกินเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย แต่ไม่เกิน 90,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะในกรณีที่กรมธรรม์ประกันชีวิตมีกำหนดเวลาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และการประกันชีวิตนั้นได้เอาประกันไว้กับผู้รับประกันภัยที่ประกอบกิจการประกันชีวิตในราชอาณาจักร ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้มีการประกันชีวิตและความเป็นสามีภริยา ได้มีอยู่ตลอดปีภาษีให้หักลดหย่อนได้ด้วยสำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายสำหรับการ ประกันชีวิตของสามีหรือภริยานั้นตามเกณฑ์ข้างต้น การฝากเงินออมสินประเภทสงเคราะห์ชีวิตและครอบครัว ก็อยู่ในข่ายที่จะขอหักลดหย่อนตามเกณฑ์นี้ได้ด้วย

1.5 เงินสะสม ที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 490,000 บาท เป็นเงินที่ได้รับยกเว้นภาษี โดยนำจำนวนเงินส่วนที่เกินดังกล่าวหักจากเงินได้พึงประเมิน ก่อนหักค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 490,000 บาท ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หักได้ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุน กบข. (ถ้ามี) แล้วไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องจ่ายเป็นค่าซื้อ หน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องรวม คำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท

1.6 ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม จากการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย โดยจำนองอาคารที่ซื้อหรือสร้างเป็นประกันการกู้ยืมนั้น ตามจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 เป็นต้นไป โดยต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังนี้ (1) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืม สำหรับการกู้ยืมจากผู้ประกอบกิจการในราชอาณาจักรเฉพาะที่กำหนดไว้ ได้แก่ ธนาคาร บริษัทตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์ นายจ้างซึ่งมีระเบียบเกี่ยวกับเงินกองทุนที่จัดสรรไว้เพื่อสวัสดิการแก่ ลูกจ้าง บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทตลาดรองสินเชื่อ ที่อยู่อาศัย กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นิติบุคคลเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ที่เขารับ ช่วงสิทธิ์เป็นเจ้าหนี้เงินกู้แทนกองทุนรวมดังกล่าว กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามกฎหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (2) เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ เช่าซื้ออาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมี สิทธิครอบครอง (3) ต้องจำนองอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุด หรืออาคารพร้อมที่ดิน เป็นประกันการกู้ยืมเงินนั้น โดยมีระยะเวลาจำนองตามระยะเวลาการกู้ยืม (4) ต้องใช้อาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม(3)นั้นเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ได้รับ ยกเว้นภาษี แต่ไม่รวมถึงกรณีลูกจ้าง ซึ่งถูกนายจ้างสั่งให้ไปปฏิบัติงานของนายจ้าง ณ ต่างถิ่นเป็นประจำหรือกรณีอาคารหรือห้องชุดดังกล่าวเกิดอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ หรือภัยอันเกิดจากเหตุอื่น ทั้งนี้ เฉพาะที่มิใช่ความผิดของผู้มีเงินได้จนไม่อาจใช้อาคารหรือห้องชุดนั้นอยู่ อาศัยได้ (5) กรณีผู้มีเงินได้มีอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) เป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อนเกินกว่า 1 แห่ง ให้หักลดหย่อนได้ทุกแห่ง สำหรับอาคารหรือห้องชุดในอาคารชุดตาม (3) (6) ให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักลดหย่อนได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ (7) กรณีผู้มีเงินได้หลายคนร่วมกันกู้ยืม ให้หักลดหย่อนได้ทุกคนโดยเฉลี่ยค่าลดหย่อนตามส่วนจำนวนผู้มีเงินได้ แต่รวมกันต้องไม่เกินจำนวนที่จ่ายจริง และไม่เกิน 100,000 บาท (8) กรณีสามีภริยาร่วมกันกู้ยืมโดยสามีหรือภริยามีเงินได้ฝ่ายเดียวให้หักลด หย่อนสำหรับผู้มีเงินได้เต็มจำนวนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (9) กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งมีสิทธิหักลดหย่อนอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้สมรสกัน ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ดังนี้ (ก) ถ้าความเป็นสามีภริยา มิได้มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ข) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ขอหักลดหย่อน และสามีภริยายื่นรายการโดยรวมคำนวณภาษี ให้หักลดหย่อนรวมกันตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ค) ถ้าความเป็นสามีภริยาได้ มีอยู่ตลอดปีภาษีที่ ขอหักลดหย่อน และภริยายื่นรายการโดยแยกคำนวณภาษี ให้สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้กึ่งหนึ่ของจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 100,000 บาท (10) กรณีมีการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้เงินกู้ยืมระหว่างผู้ให้กู้ ตาม (1) ให้ยังคงหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมดังกล่าวข้างต้น ให้หมายความรวมถึง ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย หรือห้องชุดด้วย ทั้งนี้ เฉพาะดอกเบี้ยสำหรับเงินกู้ยืมเพื่อชำระหนี้ส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้าง ชำระนั้น ผู้มีเงินได้ต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกำหนด จากผู้ให้ให้กู้ยืม เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการจ่ายดอกเบี้ยสำหรับการกู้ยืมเงินเพื่อดำเนินการ ดังกล่าวนั้นด้วย

1.7 เงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามกฎหมายว่าด้วยการ ประกันสังคมตามจำนวนที่จ่ายจริง ในกรณีสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ ซึ่งเป็นผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ข้างต้นและความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้ด้วย สำหรับเงินสมทบของสามีหรือภริยาที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมดังกล่าวตาม เกณฑ์ข้างต้น

1.8 ค่าลดหย่อนบิดามารดา กรณีผู้มีเงินได้และคู่สมรสที่มีเงินได้รวมคำนวณภาษี หรือคู่สมรสไม่มีเงินได้ อุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่ง มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ ผู้มีเงินได้และ คู่สมรสมีสิทธิหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาได้คนละ 30,000 บาท ทั้งนี้ บิดาหรือมารดาของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส จะต้องออกหนังสือรับรองว่าบุตรคนใดคนหนึ่งเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูเพียงคนเดียว

1.9 เงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา ได้แก่ เงินที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนการศึกษา มี สิทธิหักลดหย่อนได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินคงเหลือหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว

1.10 เงินบริจาค เมื่อหักลดหย่อนต่าง ๆ หมดแล้ว เหลือเท่าใดให้หักลดหย่อนได้อีกสำหรับ เงินบริจาค เงิน บริจาคที่หักค่าลดหย่อนได้นั้นผู้มีเงินได้ต้องบริจาคเป็นเงินให้แก่การกุศล สาธารณะ โดยหักได้ เท่าจำนวนเงินที่จ่ายจริงแต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ ข้างต้นแล้ว

2. การหักลดหย่อนในกรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ถ้า ความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ให้หักลดหย่อนรวม กันได้ 60,000 บาท แต่ถ้าความเป็นสามีหรือภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี หรือภริยาแยกคำนวณเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 ต่างหากจากสามี ให้ต่างฝ่ายต่างหักลดหย่อนได้ 30,000 บาท และสำหรับการหักลดหย่อนบุตรและค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้อื่น ๆ ให้ต่างฝ่ายต่างหักได้กึ่งหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในแต่ละกรณีเฉพาะในปี ภาษีนั้น

3. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย การหักลดหย่อนผู้มีเงินได้และสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ บุตร และการศึกษาของบุตรของผู้มีเงินได้

4. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี ให้หักลดหย่อนได้เสมือนผู้ตายมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษีที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย

5. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้30,000 บาท

6. การหักลดหย่อนในกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ให้ หัก ลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนที่ อยู่ในประเทศไทยคนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท

ยื่นแบบแสดงรายการได้ที่
1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิม เรียกว่า สำนักงานสรรพากรเขต / อำเภอ) สำหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 ภ.ง.ด.91 ผู้มีเงินได้สามารถยื่นแบบฯ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาใดก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นท้องที่ที่มีภูมิลำเนา

2. สำหรับท้องที่กรุงเทพมหานคร อาจยื่นแบบทางไปรษณีย์ โดย ส่งไปยังกองคลังกรมสรรพากรได้ โดยถือเอาวันลงทะเบียนเป็นวันรับแบบและชำระภาษี (ไม่รวมกรณีขอผ่อนชำระ) ดูรายละเอียดวิธีการชำระภาษีเพิ่มเติมได้ ที่นี่

3. บน Web Site ของกรมสรรพากร ที่ http://www.rd.go.th/publish/272.0.htmlโดย ชำระภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารพาณิชย์ หรือชำระผ่าน e-payment หรือโดยวิธีอื่นได้แก่ ชำระผ่านเครื่อง ATM โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ ทางอินเทอร์เน็ต หรือชำระผ่านทางไปรษณีย์
4. ธนาคารพาณิชย์ไทยและสาขาที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร หรือ ต่างจังหวัด แต่ต้องเป็นกรณียื่นแบบ ฯ และชำระภาษีภายในกำหนดเวลา มีภาษีที่ต้องชำระพร้อมกับการยื่นแบบ ฯ และจะต้องเป็นแบบ ฯ ที่แสดงชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ตามที่กรมสรรพากรจัดทำและส่งให้




วิธีการชำระภาษี
การชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา นอกจากผู้เสียภาษีจะชำระภาษีโดยการถูกหักภาษี ณ จ่าย ที่จ่ายแล้ว ถ้าในการยื่นแบบแสดงรายการและคำนวณภาษีตามแบบแสดงรายการที่ยื่นนั้น มีภาษีที่ต้องชำระหรือต้องชำระเพิ่มเติมอีกก็ให้ชำระหรือชำระเพิ่มเติมต่อ เจ้าหน้าที่สรรพากร พร้อมกับการยื่นแบบนั้น โดยเจ้าหน้าที่ผู้รับชำระจะออกหลักฐานใบเสร็จแสดงการรับเงินภาษี และถือเป็นหลักฐานแสดงการยื่นแบบแสดงรายการด้วย ให้กับผู้ยื่นแบบแสดงรายการทุกราย การชำระภาษีอาจเลือกวิธีการชำระได้ดังนี้- ชำระเป็นเงินสด- ชำระเป็นธนาณัติ ผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 91 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน ให้ส่งธนาณัติเท่ากับจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระ (ห้ามหักค่าธรรมเนียมในการส่งธนาณัติ) ไปพร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 91 โดยสั่งจ่าย


"ผู้อำนวยการกองคลัง กรมสรรพากร"

ปทฝ. กระทรวงการคลัง


- ชำระเป็นเช็ค เช็คที่ชำระต้องเป็นเช็ค 4 ประเภท ได้แก่

เช็คธนาคารแห่งประเทศไทย (เช็คประเภท ก)

เช็คที่มีธนาคารค้ำประกัน (เช็คประเภท ข)

เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย (เช็คประเภท ค)

เช็คที่ผู้มีหน้าที่ชำระเงินภาษีอากรเป็นผู้เซ็นสั่งจ่ายและใช้ชำระโดยตรง (เช็คประเภท ง)


37 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2555 เวลา 01:21

    อยากทราบว่าเอกสารที่เราต้องส่งให้ทางกรมสรรพากรมีอะไรบ้างค่ะ..ในกรณีที่เอาภรรยามาหักลดหย่อน ได้ 30,000.- .ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  2. เห็นตอนนี้มีบริการคำนวนภาษี www.itax.in.th ไม่ทราบว่าได้เคยลองรึยังคะ

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ11 กรกฎาคม 2556 เวลา 17:23

    ไม่เข้าใจเลยครับ รบกวนผู้รู้ครับ ถ้าภรรยามีเงินได้และได้ทำประกันชีวิตไว้ และสามีก็ทำประกันชีวิตและมีเงินได้เหมือนกัน แล้วสามีสามารถเอาเบี้ยประกันทั้งของตนเองและของภรรยามาลดหย่อน ภาษีเงินได้บุคคนธรรมดาได้หรือไม่ครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สามีเอาประกันชีวิตภรรยามาลดหย่อนไม่ได้

      ลบ
    2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

      ลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ30 มกราคม 2557 เวลา 17:47

    ผมเพิ่งทำงานเดือน ต.ค.56 เงินเดือน 29000 บาท เดือนมกราคม 57 ผมต้องยื่นอะไรบ้าง ไม่รู้จริงๆครับ

    ตอบลบ
  5. การที่จะยื่น ภงด 91 ต้องมีรายได้เท่าไหร่ ต่อเดือน

    ตอบลบ
  6. คือเงินเดือนผมแค่10000-12000นะครับอยู่ในข้อร่วมต้องจ่ายภาษีด้วยหรอครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ฉะเพราะผู้ที่มีเงินเดือน หรือ รายได้รวม
      30,000ขึ้นไปค่ะ

      ลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ3 มีนาคม 2557 เวลา 06:06

    สามีเอาบุตรมาหักลดหย่อนแล้ว ภรรยามีสิทธิเอาบุตรมาหักลดหย่อนได้อีกหรือเปล่า รบกวนอธิบายให้ทราบด้วยค่ะ

    ตอบลบ
  8. ทำงานรายวัน เงินเดือน 15000 (วันละ500)วันไหนหยุดโดนหัก ต้องเสียภาษีไหม แต่ทางที่ทำงานส่งไป15000

    ตอบลบ
  9. ไม่ระบุชื่อ23 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:45

    เลขประจำตัวผู้เสัยภาษีกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนใช่อันเดียวกันหรือไม่

    ตอบลบ
  10. ไม่ระบุชื่อ23 กรกฎาคม 2557 เวลา 18:46

    ผู้ที่รายได้ไม่ถึง30000 บาทต่อเดือน ต้องแสดงตนเป็นผู้เสียภาษีหรือไม่ อย่างไรค่ะ

    ตอบลบ
  11. ผมทำงานเดือนธันวาคม ได้เดือนเดียว 14000บาท มีเอกสาร พงด91 ทางบริษัทให้มา ผมต้องเอาเอกสารไปยืนหรือป่าวครับ

    ตอบลบ
  12. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  13. ผมทำงานเดือนธันวาคม ได้เดือนเดียว 14000บาท มีเอกสาร พงด91 ทางบริษัทให้มา ผมต้องเอาเอกสารไปยืนหรือป่าวครับ

    ตอบลบ
  14. ไม่ระบุชื่อ27 มีนาคม 2558 เวลา 07:54

    จดทะเบียนชื่อร้านค้า แต่หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นชื่อตัวเอง ต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  15. ไม่ระบุชื่อ27 มีนาคม 2558 เวลา 07:56

    จะไปชำระภาษีต้องทำอย่างไรบ้างครับ

    ตอบลบ
  16. ไม่ระบุชื่อ27 มีนาคม 2558 เวลา 08:00

    จดทะเบียนชื่อร้านค้า แต่หักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นชื่อ ตัวผู้จดทะเบียน การชำระภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง และจ่ายที่ไหนได้บ้าง

    ตอบลบ
  17. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  18. ดิฉันมีรายได้บริการร้านอินเทอร์เน็ท และถ่ายเอกสาร สามีมีรายได้เงินเดือนอย่างเดียว ดิฉันจะยื่นภาษี ภงด. 90 ประจำปี 2558 ดิฉันสามารถยื่นภาษีรวมกันกับสามีได้หรือไม่คะ

    ตอบลบ
  19. ขอความกรุณาเจ้าหน้าที่สรรพากร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีสรรพากร ตอบด่วนนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  20. ไม่ระบุชื่อ20 พฤษภาคม 2558 เวลา 22:51

    คำนวณยื่นภาษีไปแล้ว แต่เจ้าหน้าที่บอกคำนวณผิด เพราะว่ามารดาภรรยามีรายได้ครับ เลยนำมาคำนวณภาษีผมใหม่ มาดาภรรยาอายุ 67 ปีแล้ว วึ่งภรรยาผมไม่มีรายได้ครับ

    ตอบลบ
  21. สวัสดีค่ะ ไม่ทราบว่าท่านใด ที่เสียภาษีปีล่ะมากๆ อยากจะใช้สิทธิ์ ลดหย่อนภาษี ติดต่อ ได้ที่ 082-4517582 แนนค่ะ

    ตอบลบ
  22. สุดเมื่อมันมาถึงเงื่อนไขการให้สินเชื่อ การหมดเวลาคุณจะให้ข้อมูลของคุณ และพิสูจน์กับเราว่า คุณน่าเครียดการให้เงินของเราให้คุณด้วยไม่มีหลักประกัน สินเชื่อของเราจะได้รับดอกเบี้ย 2% เพื่อใช้ติดต่อกับ stanbicbank.loan@gmail.com นี้จดหมาย ภายใต้การปกครองของธนาคารกลาง
    ขอแสดงความนับถือ
    นางแอนนี่ Wilson

    ตอบลบ
  23. ภรรยารายได้ 15,000 ทำประกัน ปีละ 70,000 สามีรายได้ 80,000 ทำประกัน ปีละ 80,000 สามารถยื่นภาษี แบบรวมยื่นในนามสามี แล้วสา มารถ นำประกันมาหักลดหย่อนได้ ทั้ง 150,000 หรือเปล่า

    ตอบลบ
  24. การรวมยื่นภาษี ต้องยื่นในนาม สามี หรือ ภรรยา หรือให้เลือกในนามผู้ที่มีรายได้มากกว่า หรือคนใดก็ได้

    ตอบลบ
  25. ไม่ระบุชื่อ29 ธันวาคม 2558 เวลา 02:09

    ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2557 ได้เคยยื่นเอกสารขอลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูมารดา และอุปการะผู้พิการแล้ว ในปี 2558 จำเป็นต้องใช้เอกสารนี้อีกหรือไม่?

    ตอบลบ
  26. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  27. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  28. เวลายื่นเอกสาร ภ.ด.ง.50/51 เราต้องใช้ทนายป่าวหรือเราสามารถยื่อเองได้

    ตอบลบ
  29. ไม่ระบุชื่อ10 เมษายน 2559 เวลา 22:29

    เวลายื่น ภ.ง.ด.3งงมากเลย

    ตอบลบ
  30. เรื่องภาษีที่ทุกคนต้องรู้ มีอะไรเกิดขึ้นกับแวดวงภาษีในบ้านเราบ้าง ลองมาดูกันหน่อย http://money.sanook.com/tag/ภาษี/

    ตอบลบ
  31. พนักงานโรงงาน รายได้เดือนตกเดือนละ 8000-8500
    ต้องยื่นเรื่องด้วยหรอคับ

    ตอบลบ
  32. PG SLOT ลุ้นเครดิตฟรีเครดิตฟรี เราเชื่อว่าสาวกสล็อตออนไลน์ หากได้ยินคำว่า “เครดิตฟรี นั้นฟรีจริงหรือไม่ ขอตอบตรงนี้เลยว่า PG SLOT ฟรีจริงๆไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น PG SLOT ลุ้นเครดิตฟรี

    ตอบลบ